หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

รายชื่อผู้จัดทำ

  1. นาย ทรงพล     กัลยาประสิทธิ์   เลขที่ 4
  2. นาย ทรรศณ์      อนุรักษ์วงศ์ศรี   เลขที่ 8
  3. นาย อภิณัฐ       ปัญญานิมิตร      เลขที่ 11
  4. นาย ณัฐกิตติ์     อภิบวรชัยพงษ์  เลขที่ 15
  5. นาย กิตินนท์     ทับแสง             เลขที่ 17
  6. นาย สุวรรณภูมิ  ฟองเอม            เลขที่ 21
  7. นาย ดรณ์          ศรศิลป์             เลขที่ 28
  8. นาย ธีรภัทร       จิระนันทิพร       เลขที่ 36

               ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

ลำดับขั้นตอนในการเขียนภาพ

  1. สังเกตุลักษณะของหุ่นโดยรวม ในการเขียนภาพทุกครั้งสิ่งแรกที่ต้องทำหลังจากเตรียมอุปกรณ์คือ การสังเกตลักษณะของหุ่นก่อนว่าเป็นหุ่นประเภทใด (ผิวหยาบ ผิวมัน โปร่งใส ผิวด้าน เป็นต้น) ขนาดเท่าไร (สูง เตี้ย อ้วน ผอม) จัดวางในลักษณะใด (ตั้งเอียง ตั้งนอน อยู่ในที่สูงหรือต่ำ)
  2.  ร่างภาพโครงสร้างสัดส่วนให้เหมาะสมกับหน้ากระดาษ  ในการเขียนภาพทุกครั้ง หลังจากสังเกตหุ่นแล้วจะมีหลายวิธีในการร่างภาพ
  3. วิธีแรก เริ่มจากการเขียนภาพหุ่นที่อยู่ตรงกลางภาพก่อน แล้วจึงเขียนทางด้านซ้ายและด้านขวา
    วิธีที่สอง เรื่มจากการเชียนภาพหุ่นที่อยู่ใกล้ตัวก่อน แล้วจึงค่อยเขียนในระยะหลังต่อไป
    วิธีที่สาม ให้นำเศษกระดาษมาตีกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประมาณสี่นิ้วคูณหกนิ้ว สเก็ตภาพลงในกรอบสี่เหลี่ยมเพื่อกำหนดตำแหน่งของหุ่นในภาพก่อนที่จะเขียนจริงในกระดาษแผ่นใหญ่
    วิธีการร่างภาพโครงสร้าง - สัดส่วน
    มีวิธีการดังนี้
    1. ให้ลากเส้นตรงในแนวดิ่ง หนึ่งเส้น
    2. จากนั้นกำหนดส่วนสูงที่สุดของหุ่น และส่วนที่ต่ำที่สุดของหุ่นโดยการลากเส้นในแนวนอนโดยทำมุมฉากกับเส้นดิ่ง
    3. กำหนดความกว้างของหุ่นโดยประมาณ โดยกำหนดให้ซ้ายขวาเท่ากัน 
    4. เมื่อกำหนดโครงสร้างรวมของหุ่นแล้ว จากนั้นให้เขียนเส้นโค้ง เส้นเว้าเพื่อให้โครงสร้างใกล้เคียงหุ่นมากที่สุด
     
  4. แรน้ำหนักโดยรวมของหุ่น เมื่อเสร็จจากการร่างภาพแล้ว ถึงขั้นตอนนี้ให้สังเกต แสง โดยรวมของหุ่นก่อน จากนั้นให้แบ่งค่าแสงออกเป็น3ระยะ คือ ขาว เทา เข้ม โดยเว้นขาวในพื้นที่ๆเป็นแสง แสดงน้ำหนักเทาในด้านที่มีน้ำหนัก แสดงน้ำหนักเข้มในส่วนที่เป็นแรเงา และเงาตกทอด
  5.  
  6.  แรน้ำหนักพร้อมทั้งเก็บรายละเอียด เมื่อแสดงน้ำหนักโดยรวมแล้วให้แสดงน้ำหนักเพิ่มเติมให้ใกล้เคียงกับหุ่นมากที่สุด พร้อมทั้งเก็บรายละเอียดให้ใกล้เคียงที่สุดที่จะทำได้เป็นอันว่าเสร็จสิ้นขั้นตอนอย่างง่ายๆ
อ. มณฑล   เล้งพ่วง

พื้นฐานการฝึกวาดเส้น Drawing (2)

ข้อควรสังเกตบางประการ ก่อนเขียนคือดูลักษณะของหุ่นให้ดีก่อนลงมือเขียน โดยสังเกต
  1. รูปทรง ขนาด ระยะ
  2. แสงที่ส่องกระทบหุ่น
  3. ผิว
  4. น้ำหนัก
  5. องค์ประกอบของภาพ
รูปทรง  สังเกตรูปทรงและขนาดของภาพให้ดี หากเราจะย่อหรือขยายก็จะได้สัดส่วนที่แน่นอน โดยสังเกตจากหุ่นที่ใกล้เคียงกันก็ได้เช่น ดูว่าขวดที่อยู่ใกล้กับมะเขือเทศระยะห่างเท่าใด มะเขือเทศเขียนแล้วจะโตกว่าขวดหรือเปล่า หรือ ส้มเช้งอยู่หลังมะเขือเทศ แต่เน้นน้ำหนักมากไปจนชัดกว่ามะเขือเทศซึ่งอยู่ข้างหน้าเสียอีก เป็นต้น

แสง แสงและเงา เป็ของคู่กันมานานแต่ไหนแต่ไร และเงาตกทอดที่จัดว่างามที่สุดในแง่ศิลปะแล้ว คือเงาตกทอดจากต้นกำเนิดแสงทำมุมพื้นราบ 45 องศา หากนักศึกษาจะเขียนหุ่นนิ่ง ควรดูด้วยว่า อยู่ฝั่งตรงข้ามแสงหรือเปล่าหรืออยู่ฝั่งแสงส่องกระทบหุ่น ทั้งสองอย่างไม่จัดว่าเป็นมุมที่ดี เพราะจะเขียนแสงเงาตกทอดยากมาก เขียนออกมาแล้วก็ไม่สวย สู้นั่งทำมุมระหว่างแสงกับเงาจะเขียนได้ง่ายกว่า

แสงเงานั้นมีหลายลักษณะ เช่น
  • แสงสว่างที่สุด (Highlight) อยู่ในส่วนรับแสงโดยตรง
  • แสงสว่าง (Light) อยู่ในส่วนรับอิทธิพลของแสง
  • เงา (Shadow) อยู่ในส่วนรับอิทธิพลของแสงน้อยมาก
  • เงามืด (Core of shadow) อยู่ในส่วนที่ไม่ได้รับแสงโดยตรงแต่เป็นการสะท้อนของแสงจาดวัตถุใกล้เคียง
  • แสงสะท้อน (Refleced light) บริเวณของวัตถุที่ไม่ได้รับแสงโดยตรงแต่เป็นการสะท้อนของแสงจากวัตถุใกล้เคียง
  • เงาตกทอด (Cast shadow) บริเวณที่เงาของวัตถุนั้นๆตกทอดไปตามพื้น หรือตามวัตถุอื่นที่รองรับน้ำหนักแก่กว่าบริเวณแสงสะท้อน
image

วิธีการสังเกตอีกอย่าง คือ การสังเกตดูว่า หุ่นที่เห็นมีลักษณะอย่างไร หุ่นด้าน หุ่นมัน หรือ หุ่นใส เพื่อจะได้กำหนดแสงที่ตกกระทบได้ชัดเจน

หุ่นด้าน เช่น ละมุดฝรั่ง กิ่งไม้แห้ง ใบไม้แห้ง เครื่องปั้นดินเผา ฯลฯ หุ่นจำพวกนี้แสงจะต้องนุ่มนวล จากแสงค่อยๆ อ่อนไปจนถึงแก่จัด

หุ่นผิวมัน เช่น ส้มเช้งสด มะเขือเทศ แตงโม พัดลมไฟฟ้า เครื่องถ้วยโถโอชาม ประเภทเซรามิก ฯลฯ หุ่นจำพวกนี้ แสงจะจัดเป็นจุดและแสงจะต้องขาวไม่ว่าหุ่นจะเป็นอะไรก็ตาม ที่ควรจำก็คือแสงจะขาว จัดเป็นจุดบนพื้นเข้ม

หุ่นผิวใส เช่น แก้วน้ำ ขวดใส กระจกกั้นห้อง ถุงพลาสติกใส่อาหาร ฯลฯ หุ่นจำพวกนี้จะต้องเขียนให้ใสมองทะลุถึงวัตถุที่อยู่ข้างหลังของหุ่น (อาจใช้ยางลบช่วยให้การทำให้ขวดหรือหุ่นจะได้แวววาวมากยิ่งขึ้น)

ส่วนเทคนิคอื่นใดนั้นหากผู้ศึกษาได้ค้นคว้าหัดเขียนมาตามที่แนะนำคาดว่าคงประสบผลสำเร็จในด้านการเขียนและประสบการณ์ในด้านเทคนิคเฉพาะตัวมากยิ่งขึ้น ในบทความนี้จะมีหลากหลายเทคนิคและมากไปด้วยวิธีการของเหล่าช่างเขียน ตามแต่ผู้ศึกษาจะสังเกตเห็น

image
ลักษณะการมอง และ สังเกตุน้ำหนัก แสง เงา ที่กระทบหุ่น 6 ระยะ

วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

พื้นฐานการฝึกวาดเส้น Drawing

สิ่งที่ผู้ฝึกควรฝึกตนเองก่อนเริ่มลงมือวาดรูปเป็นพื้นฐาน ขั้นแรกให้หัดเขียนเส้นตรง เส้นนอน เส้นตั้ง เส้นเฉียง ซ้ำๆ กันให้คล่องมือ จนนักศึกษาสามารถลากเส้นตรง เส้นนอน และเส้นเฉียงได้ดังใจ
เส้นตั้งPicture2Picture3Picture4
หลังจากนั้นก็ให้แรเงาโดยใช้เส้นตรงนั้นวางให้ชิดเป็นแนวเดียวกัน ใช้วิธีเหวี่ยงข้อมืออย่างเร็วให้คล่องทั้งเฉียงขึ้นและเฉียงลง
image
เมื่อเวลาแรเงาบนหุ่นจริง ควรตวัดปลายดินสอไปทางแสง จะทำให้แสงที่มากระทบนุ่มนวลขึ้น เช่น รูป A หากตวัดผิดทาง แสงจะแข็งมาก เช่นตัวอย่างรูป B ซึ่งจะทำให้แสงที่มากระทบหุ่นไม่สวยไปเลย
21
เมื่อฝึกเรื่องการใช้เส้นคล่องมือแล้วก็ให้ฝึกเขียนภาพให้เหมือนกันโดยกะระยะของเส้นที่ร่างภาพในขนาด รูปทรงให้เหมือนกันดังภาพข้างล่าง ผลที่จะได้รับคือ จะทำให้นักศึกษาสามารถวาดสิ่งของสองสิ่งได้เหมือนแบบ เช่น เมื่อนักศึกษาวาดภาพคนเหมือนก็จะวาดตาทั้งสองข้างเหมือนกัน เป็นต้น หากฝึกวิธีนี้แล้วสมาธิในการเพ่งดูภาพต้นแบบเพื่อไปร่างก็จะได้รับความละเอียดครบถ้วน มีบางคนเขียนตาทั้งสองข้างไม่เท่ากัน หรือมองหุ่นคนเหมือน แล้วเขียนไม่เหมือนก็ยังเคยปรากฏให้เห็นออกบ่อย ซึ่งจะเป็นความเคยชินในทางเสืย เนื่องจากไม่ได้ฝึกความสังเกตอย่างนี้

ตัวอย่าง


ตัวเลียนแบบ

1 ตัวเลียนแบบ
เมื่อนักศึกษาฝึกถึงตอนนี้แล้วให้ลองขยายต้นแบบ หากขยายด้านแบบได้ผลดีแล้ว ก็ให้ย่อให้เหมือนเช่นภาพข้างล่างนี้
12
ฝึกเขียนภาพย่อเหมือน ขยายเหมือนแล้วลองย่อ และขยายแบบกลุ่มดูบ้างว่าเหมือนหรือไม่ ตรงนี้เพื่อหัดสังเกตการจัดวางตำแหน่งจากของเดิมขยายแล้ว ย่อแล้วจะผิดแบบหรือไม่
2
5
หัดฝึกสมาธิให้ใจสัมพันธ์กับมือ โดยวิธีการลากเส้นซ้ำบนรอยเดิมๆ ค่อยๆ ทำเวลาให้เร็วขึ้น ถ้ายังซ้ำเส้นเดิมได้โดยไม่ออกนอกลู่นอกทางเส้นเดิมนักแสดงว่า สมาธิ ใจสัมพันธ์กับมือได้ดี ควรวนเป็นร้อยๆ รอบก่อนเขียนงานจะทำให้มีสมาธิและมือคล่องขึ้น
55

การวาดเขียน (Drawing)

พื้นฐานเบื้องต้นของศิลปกรรม ตลอดจนถึงการออกแบบทุกชนิด ก็คือ การวาดเขียนหรือวาดเส้น ซึ่งศิลปินผู้สร้างจะต้องบันทึกความรู้สึก จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ ออกมาในลักษณะของงานวาดเส้น เป็นรูปธรรมชัดเจน วัสดุสำหรับบันทึกเรื่องราวเหล่านี้มักไม่จำกัดวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างชัดเจน หากแต่ว่าศิลปินผู้รังสรรค์ผลงานเป็นผู้เลือกใช้ตามความถนัดของตน อาจเป็นดินสอสีต่างๆ บนกระดาษ หรือเงินแหลมบนหนังสัตว์ แม้กระทั่งการขูดขีดบนพื้นผนังถ้ำต่างๆ ฯลฯ

ศิลปินต่างๆ ที่มีผลงานวาดเส้นให้ปรากฏแก่สายตาคนทั้งโลกนั้น หากพิเคราะห์ถึงสาเหตุแล้วพอจะสังเขปได้ว่า เขียนขึ้นเพื่อเป็นภาพร่างเพื่อใช้แก้ไขหรือปรับปรุงงานจริง, หรือเพื่อเป็นเสก็ตงานต้นแบบ รวมแล้วผลงานวาดเส้นเหล่านี้ล้วนแต่เป็นรูปแบบของศิลปินผู้สร้าง หากงานจริงๆ กลับเป็นผลงานอยู่บนเพดานโบสถ์บ้าง ฝาผนัง พระราชวังบ้าง ซึ่งเป็นผลงานสีลงน้ำมันอย่างวิจิตรก็มี เช่น ผลงานของไมเคิล แองเจโล และลีโอนาร์โด ดาวิน ชี

เป็นข้อเท็จจริงประการเดียวที่ว่า งานศิลปที่ศิลปินได้รังสรรค์ไว้อย่างงดงามนั้นไม่สามารถจะนำมาแบ่งปันแก่ผู้ที่ชื่นชอบผลงานศิลปินเหล่านั้นได้ จึงเป็นเหตุให้ประชาชนทั่วไปที่ชื่นชมศิลป จึงหวังจะได้ผลงานภาพร่างต้นแบบไปเป็นสมบัติส่วนตน จึงทำให้ผลงานศิลปที่เป็นภาพร่างลายเส้นของศิลปินที่มีชื่อเสียงหลายคนในโลกนี้ ราคาแพง และมีค่ามากขึ้น

ในสยามประเทศของเราก็เล็งเห็นถึงผลของการเรียนวาดเขียนเป็นอย่างดีจึงบังคับให้นักศึกษาที่ศึกษาศิลปด้านจิตรกรรม, ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ต้องเรียนรู้ถึงการวาดเส้นพิ้นฐานเบื้องต้นก่อน หลายๆ โรงเรียนได้บรรจุการวาดเส้นพื้นฐานไว้สำหรับนักศึกษาปี 1 ซึ่งเป็นการสมควร แต่เท่าที่สังเกตเห็นบางทีผู้สอนมักจะให้นักศึกษาเขียนภาพยากๆ ก่อนโดยไม่วางแนวพื้นฐานให้ดี เป็นเหตุให้นักศึกษาเบื่อวิชา Drawing ไปเลยก็มี ในระดับปวช.ที่โรงเรียนของผู้เขียน (อาจารย์เศรษฐมันทตร์ กาญจนกุล) ได้วางหลักไว้ชัดเจน ทดสอบเรียนกันมาหลายปีนักศึกษาก็ไม่บ่นว่าเบื่อวิชานี้ ผู้เขียนเลยนำแนวทางง่ายๆ ที่เป็นเอกสารแจกของอาจารย์ผู้สอนประจำวิชามาลงไว้เป็นพื้นฐาน เช่น การเขียนหุ่นรูปทรงเรขาคณิต วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม โดยให้สังเกตแสง-เงา เป็นตัวกำหนดน้ำหนัก หลังจากนั้นจึงค่อยๆ ฝึกหุ่นในลักษณะต่างๆ กัน ดังจะอธิบายโดยภาพในบทความถัดไป